ประวัติอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
สถานที่ตั้ง : กลางวงเวียนสี่แยกถนนราชดำเนินกลางตัดกับถนนดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมา : รัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการที่คณะราษฎร ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลัง ได้เห็นความสามัคคีกลมเกลียวของประชาชน ทั้งเตือนใจให้ระลึกถึงและช่วยกันพิทักษ์รักษาเทิดทูนรัฐธรรมนูญให้สถิตสถาพรเป็นหลักของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ความสำคัญค่าชุมชน : อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกที่ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปัตยมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปัจจุบันมักจะเป็นสถานที่ชุมนุม รวมตัวกันในการประท้วงหรือเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญ ๆ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม : กรมศิลปากรดำเนินการก่อสร้าง โดยศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ออกแบบ และดำเนินการปั้นร่วมกับศิษย์ ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ อนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบโดยแฝงความหมายของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ดังนี้ปีกทั้ง ๔ ด้าน วัดส่วนสูงจากฐานล่าง ๒๔ เมตร พื้นฐานมีรัศมียาว ๒๔ เมตร ก็หมายความถึงวันที่ ๒๔พานรัฐธรรมนูญ ตัวพานหล่อสำริด อยู่เหนือป้อมใหญ่สูง ๓ เมตร หมายความถึงเดือน ๓ แห่งปี คือ เดือนมิถุนายน (นับจากเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกอย่างเก่า)ปืนใหญ่ ๗๕ กระบอก ฝังปากกระบอกลงดินโดยรอบอนุสาวรีย์ มีโซ่ร้อยเว้นเฉพาะช่องทางขึ้น ๔ ทาง หมายถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕พระขรรค์ ๖ เล่ม ติดอยู่ที่ประตูป้อมทั้ง ๖ ด้าน หมายถึง หลัก ๖ ประการอันเป็นนโยบายในการปกครองประเทศของคณะราษฎรภาพปูนปั้นประกอบติดที่ฐานล่างของปีกทั้งสี่ แสดงประวัติการณ์ของคณะราษฎร์ในการเปลี่ยนแปลง การปกครอง อนุสาวรีย์ประดิษฐานอยู่บนลานวงกลม ลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ที่ฐานด้านนอกของปีกทั้งสี่ ก่อเป็น อ่างน้ำพุ เหนืออ่างเป็นรูปพญานาคพ่นน้ำลงในอ่าง
อ้างอิง : http://tarachai.tripod.com/
1 ความคิดเห็น:
แต่ประชาชนชาวไทย ก็มิได้นำพา
ไม่สนใจว่าสิ่งไหนควรสิ่งไหนมิควร
ประเทศจึงเป็นเช่นนี้ แล
แสดงความคิดเห็น